ผลข้างเคียงการเสริมเต้านม

By Unknown - มีนาคม 30, 2561

เต้านมแข็งเป็นแคปซูล ผลข้างเคียงการเสริมเต้านม


การเสริมเต้านมเพื่อให้ออกมาดูสวยงามและเป็นธรรมชาตินั้น ต้องพิจารณาปัจจัยหลายอย่างประกอบกัน ทั้งวัสดุที่ใช้เสริม ความชำนาญต้องพิจารณาปัจจัยหลายอย่างประกอบนั้น ทั้งวัสดุที่ใช้เสริม ความชำนาญของแพทย์ผู้ทำการผ่าตัด เครื่องมือทางการแพทย์ และสถานพยาบาลของแพทย์ผู้ทำการผ่าตัด เครื่องมือทางการแพทย์ และสถานพยาบาล รวมทั้งการเตรียมตัวก่อนผ่าตัดและการดูแลหลังผ่าตัดของคนไข้ เมื่อพิจารณาสิ่งเหล่านี้ร่วมกันแล้ว ก็จะทำให้ผลลัพธ์หลังการผ่าตัดออกมาเป็นที่น่าพอใจ และในที่นี้เราจะมาพูดกันถึงผลข้างเคียงอย่างหนึ่งจากการเสริมเต้านม ซึ่งทั้งสาวแท้แลสาวเทียมค่อนข้างจะเป็นกังวลกันมาก่อนเสริม นั่นก็คือ เต้านมแข็งเป็นแคปซูล

เต้าแคปซูลเกิดจากอะไร

สาเหตุของเต้าแคปซูลเกิดจากการดูแลตัวเองหลังผ่าตัดเสริมหน้าอกมาโดยตรงสำหรับคนที่ดูแลตัวเองไม่ดี เช่น อาจจะนวดแรงเกินไป ใช้งานมากจนเกินไป ก็อาจทำให้เกิดการรัดตัวของซิลิโคนมากเกินไป หรือเรียกว่ามีการเกิดพังผืดตรงบริเวณซิลิโคนมากกว่าปกติ หรือบางคนที่มีการติดเชื้อหลังผ่าตัด โอกาสเกิดพังผืดหดรัดก็จะมีมากขึ้น จนทำให้รู้สึกแข็งตรงบริเวณหน้าอกที่เสริมมา ไม่นิ่มเหมือนกับตอนแรกๆ  ที่หลังผ่าตัด และอาจทำให้รูปร่างของถุงซิลิโคนเจลบิดเบี้ยวผิดปกติไปด้วย ยิ่งถ้ามีการหดรัดมากขึ้น พังผืดจะมีลักษณะเป็นก้อนแข็ง จนเห็นได้ชัดจากภายนอก แม้ไม่ได้สัมผัส ซึ่งการแข็งก็จะมีตั้งแต่แข็งเป็นก้อนอย่างชัดเจน หรืออาจจะยังไม่รู้สึกชัดเจนเท่าไหร่ แต่จะมีอาการเจ็บตรงบริเวณที่เสริม ในคนที่ดูแลดีหน้าอกจะนิ่มจนคลำดูไม่รู้ว่าไปเสริมมา สำหรับบางคนที่เคยผ่านการทำศัลยกรรมเสริมเต้านมมาบ่อย จะมีโอกาสเกิดการแข็งได้ง่าย ผู้หญิงทุกคนที่ผ่านการเสริมหน้าอกจะมีพังผืดห่อหุ้ม ในภาษาแพทย์เรียกว่า Fibrosis เป็นคอลลาเจนที่หนามากกว่าปกติ ที่มาหุ้มซิลิโคน ซึ่งคนที่เสริมหน้าอกต้องเจอ 100 เปอร์เซ็นต์ แต่จะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับการดูแล และการปฏิบัติตัวของคนไข้แต่ละคน

อาการของการเกิดเต้าแคปซูล

อาการเต้าแคปซูลไม่ได้มีโดยทันทีหลังการเสริมเต้า แต่จะเริ่มเป็นได้ในช่วงระยะเวลาหลังทำตั้งแต่ 5 ปีขึ้นไป เพราะเป็นการสะสมความหนาของพังผืดไปเรื่อยๆ อาการแรกที่คนไข้จะสังเกตได้คือจะรู้สึกเจ็บบริเวณหน้าอก มีการแบ่งเกรดตามระยะที่มีอาการ โดยแบ่งออกเป็น 4 ระยะ คือ
  • ระยะที่ 1 เป็นระยะอาการเริ่มต้น ดูเป็นธรรมชาติ
  • ระยะที่ 2 เต้านมจะแข็งเล็กน้อย แต่ยังดูเป็นธรรมชาติอยู่
  • ระยะที่ 3 เริ่มมีอาการเต้านมแข็งขึ้น และเริ่มมีรูปร่างของหน้าอกที่ผิดรูป
  • ระยะที่ 4 มีอาการเจ็บมาก และหน้าอกแข็งเหมือนก้อนหิน จนรู้สึกได้
นอกจากนี้ ในบางครั้งก็จะมีความผิดรูป เช่น การเกิดสูงต่ำไม่เท่ากันของเต้านม จนดูไม่เป็นธรรมชาติร่วมด้วย และอาการเต้าแข็งนี้อาจส่งผลต่อสุขภาพในด้านอื่นๆ เพราะเวลามีพังผืดมารัดรอบซิลิโคนมากๆ การให้นมบุตรก็จะทำให้ยากขึ้น เพราะการเสริมเต้านมจะเป็นการเสริมเหนือกล้ามเนื้อ โดยมีการดนท่อน้ำนมบางส่วนด้วย

แนวทางการแพ้ไขเต้าแข็งเป็นแคปซูล

การผ่าตัดแก้ไขพังผืดจะทำโดยเปิดแผลใต้ราวนมหรือหัวราวนมจะง่ายที่สุด บางครั้งอาจทำโดยการเปิดแผลที่รักแร้ได้ แต่ค่อนข้างยากและต้องใช้กล้องผ่าตัดเสริมด้วย วิธีการแก้ไขทำได้โดย ผ่าตัดแก้ไขพังผืด (Open Capsulotomy) โดยผ่าตัด เข้าไปในแคปซูลและเปิดขยายโพรงผ่านพังผืดเดิม เป็นการขยายช่องว่างกว้างขึ้น แต่ไม่ได้ผ่าตัดเอาเนื้อพังผืดออก อีกวิธีหนึ่งคือการเลาะพังผืดออก (Open Copsuhectomy) เป็นการผ่าตัดเพื่อเลาะพังผืดออกเป็นการผ่าตัดที่ได้ผลดีที่สุด แต่การผ่าตัดใช้เวลาค่อนข้างนาน ส่วนในกรณีที่พังผืดเยอะมากหรือหน้าอกแข็งมาก จะแก้ไขโดยการผ่าตัดเอาซิลิโคนออกและพักฟื้นสักระยะ แล้วค่อยกลับมาใส่ใหม่

การทิ้งระยะเวลาดังกล่าว เพื่อให้พังผืดนิ่มขึ้นและค่อยๆ หายไป เนื่องจากพังผืดเหล่านี้มาจากเนื้อเยื่อภายในร่างกายของเรา หากพังผืดบริเวณนี้เริ่มนิ่มก็สามารถเสริมเต้านมตามปกติ หรือบางกรณีที่เป็นน้อยก็อาจจะสามารถเสริมซิลิโคนอันใหม่เข้าไปได้เลย แต่ในกรณีที่เป็นเยอะและอยากใส่อันใหม่เข้าไปทันที ก็ต้องมีการผ่าตัดเลาะเอาพังผืดออก แล้วทำการขยายโพรงให้ใหญ่ขึ้น ซึ่งการใส่ซิลิโคนอันใหม่เข้าไปทันทีนั้น ก็จะมีโอกาสกลับมาเป็นเต้าแคปซูลซ้ำอีกได้เช่นกัน ทั้งนี้แต่ละคนจะมีอาการรุนแรงมากน้อยแตกต่างกันออกไป ดังนั้น ส่วนมาแพทย์จะเลือกทำการแก้ไขเป็นกรณีๆ ไป โดยภาวะแทรกซ้อนที่พบบ่อยในระหว่างผ่าตัด คือ เลือดจะออกเยอะกว่าตอนที่เสริมหน้าอกครั้งแรก รองลงมาก็คือปัญหาที่เกิดจากการเลาะโพรงได้ไม่ดี ขยายโพรงได้ไม่เต็มที่ ซึ่งจะเกิดกับกรณีที่หน้าอกมีอาการแข็งเป็นก้อนจนดูไม่เป็นธรรมชาติแล้ว

ผลข้างเคียงหลังผ่าตัด คือ อาจจะมีอาการแข็งเป็นบางตำแหน่งของหน้าอก และมีโอกาสสูงมากที่จะกลับมาเป็นซ้ำอีกครั้ง ซึ่งในกรณีหลังพบบ่อยมาก ดังนั้น คนไข้จึงต้องมีการดูแลตัวเองมากเป็นพิเศษ เช่น การนวดหน้าอก โดยจะต้องไม่นวดแรงจนเกินไป เพราะส่วนใหญ่แล้วการผ่าตัดแก้ไขเต้านมแข็งเป็นแคปซูล ส่วนใหญ่ เนื้อเยื่อจะเริ่มบอบช้ำมาตั้งแต่ศัลยกรรมมาครั้งแรกแล้ว ซึ่งการดูแลรักษาก็จะแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับอาการบอบช้ำหรือระดับคามรุนแรงของแต่ละคน การเข้าไปเลาะโพรงใหม่ก็จะแตกต่างกัน แต่โดยส่วนใหญ่มักจะต้องเลาะออกมากกว่าการผ่าตัด ซึ่งจะมีอาการเจ็บ ช้ำ บวมเขียวได้ค่อนข้างเยอะกว่าและหลายคนมักจะมีข้อสงสัยว่า หากทำการรักษาช้าจะลุกลามหรือไม่ ปัญหาเต้าแข็งนั้น จะไม่มีการลุกลามไปเป็นโรคใหม่ หรือกลายเป็นก้อนมะเร็ง เพราะเกิดจากพังผืดที่อยู่รอบซิลิโคน ซึ่งซิลิโคนคือสิ่งแปลกปลอมที่เข้าไปอยู่ในร่างกาย ร่างกายจะทำการต่อต้านว่าสิ่งนี้ คือ สิ่งแปลกปลอม และจะสร้างเนื้อเยื่อใหม่มาห่อหุ้ม เพื่อป้องกันไม่ให้มันกระจายไปยังส่วนอื่น แต่หากทำการรักษาช้าก็จะทำให้เต้านมยิ่งดูแข็งไม่เป็นธรรมชาติ คนไข้จะรู้สึกเจ็บ และเกิดผลข้างเคียงอื่นๆ ตามมา


เครดิต : women.haijai.com

  • Share:

You Might Also Like

0 ความคิดเห็น