รูปทรงหน้าอก รูปแบบซิลิโคน

ซิลิโคนเสริมหน้าอกเกิดขึ้นบนโลกนี้อย่างไร ?

ต้นกำเนิดของซิลิโคนเสริมหน้าอกนั้นน่าสนใจมาก เกิดขึ้นจากความบังเอิญเมื่อหลายสิบปีก่อน ที่มีแพทย์ฝึกหัดท่านหนึ่งในอเมริกาสังเกตว่า ถุงใส่เลือดที่ให้ผู้ป่วย มีความนิ่มน่าจะเอามาเสริมเต้านมได้ เป็นที่มาของแนวคิดการสร้างถุงเต้านมเทียมขึ้น มีการพยายามใช้สารต่างๆมากมายมาสร้างเป็นเปลือกถุงแล้วหาสารต่างๆมาเติมใส่ไว้ภายใน เชื่อไหมว่าแม้แต่น้ำมันถั่ว ยังเคยเอามาทอลองใส่ไว้ภายใน สุดท้ายในปัจจุบัน สรุปว่า วัสดุที่ดีที่สุดในการนำมาผลิตเป็นเปลือกถุงเต้านมเทียม คือ สารซิลิโคน (Silicone) ซึ่งเป็นโพลีเมอร์ของ silicone กับ oxygen ชื่อเต็มๆ คือ Dimethylsiloxane เป็น Medical-grade silicone มีความบริสุทธิ์สูงมาก สำหรับสารที่ใส่ภายในแบ่งเป็นน้ำเกลือ หรือ ซิลิโคนเจล เริ่มมีใช้ตั้งแต่ปี 1963 ในอเมริกา และซิลิโคนเหล่านี้จะถูกทดสอบและให้การรับรองโดยองค์การอาหารและยาของอเมริกา (US FDA)

ผิวชั้นนอก หรือ เปลือกของซิลิโคน (Shell)

ทำมาจากสารซิลิโคน มีความหลายหลายตั้งแต่ เปลือก 1 ชั้น 2 ชั้น และมีชั้นป้องกันการซึมผ่านของเจล (Barrier coated) มีลักษณะผิวแบ่งเป็น ผิวเรียบ (Smooth), ผิวทราย (Textured), หรือเคลือบด้วย Polyurethane ซึ่งแบบสุดท้ายปัจจุบันยังรอการทดสอบของ US FDA

อย่างไรก็ตามยังไม่มีงานวิจัยว่ายี่ห้อใดมีประสิทธิภาพเหนือกว่า ซิลิโคนผิวทรายนิยมใช้ในกรณีที่เสริมเหนือกล้ามเนื้อเพื่อลดโอกาสการเกิดผังผืดรัดซิลิโคน ที่เรียกว่า Capsular Contracture สำหรับกรณีการใส่ใต้กล้ามเนื้อนั้นพบว่า โอกาสเกิดผังผืดนั้นไม่ได้แตกต่างกันระหว่างการใช้ซิลิโคนผิวเรียบหรือผิวทราย

สำหรับรูปร่างภายนอกของซิลิโคนมี 2 ลักษณะคือ แบบทรงกลม (Round shape) กับ แบบทรงหยดน้ำ (Anatomic shape or tear drop) ซึ่งมีข้อดีข้อเสียแตกต่างกันไปเหมาะสมในแต่ละโครงสร้างแตกต่างกัน ซึ่งยังเป็นข้อถกเถียงกันอยู่ในวงการศัลยแพทย์ตกแต่ง

สารภายในถุงเต้านมเทียม (Content)

ในปัจจุบันจะมีการใช้งาน เพียง 2 ชนิด คือ
  1. ซิลิโคนเจล (silicone gel) ซึ่งมีระดับความยืดหยุ่นต่างๆกัน และ
  2. น้ำเกลือ (saline)
ซึ่งศัลยแพทย์จะเติมเข้าไปในขณะผ่าตัด นอกจากนี้ยังมีซิลิโคนอีกรูปแบบหนึ่ง คือ Becker’s implant หมายถึง ในถุงเต้านมลูกเดียวกันนั้นจะถูกแบ่งเป็นสองส่วน คือ ชั้นนอกเป็นซิลิโคนเจล และชั้นในเป็นช่องว่างเพื่อเติมน้ำเกลือ ทำให้สามารถปรับขนาดที่ต้องการได้ภายหลังผ่าตัด

ในด้านความปลอดภัย ในอดีตปี 1990 มีข้อกังวลเกี่ยวกับความปลอดภัยของซิลิโคนเจลในอเมริกา จึงได้ระงับการใช้งานและทำการศึกษา ในปี 2003 ผลงานวิจัยพบว่าไม่ได้เพิ่มโอกาสการเกิดมะเร็งแต่อย่างใด จึงเป็นที่นิยมมากขึ้นเรื่อยๆ จนในปัจจุบันซิลิโคนเจลนั้นได้รับความนิยมมากกว่าถุงน้ำเกลือเป็นอย่างมาก เนื่องจากได้สัมผัสที่เป็นธรรมชาติมากกว่าถุงน้ำเกลือจากความนิ่มของเจล และการใช้ถุงเจลยังมีโอกาสเกิดการมองเห็นรอยย่นของถุงซิลิโคนน้อยกว่าถุงน้ำเกลืออีกด้วย

โดยสรุป ถุงซิลิโคนเจลในปัจจุบันนั้นมีความทนทานและปลอดภัยสูง ถือเป็นเจเจอเรชั่นที่สามของถุงซิลิโคน เปลือกภายนอกมีความแข็งแรง และมีชั้นป้องกันการซึมผ่านของเจล ส่วนเจลภายในนั้นบางครั้งเรียกว่า Cohesive หรือ Gummy bear ซึ่งหมายถึงเจลที่จับตัวเป็นก้อนคล้ายเจลลี่ ลดโอกาสเกิดการซึมของเจลออกมา เพิ่มความปลอดภัยมากยิ่งขึ้น

  • Share: